สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ลงพื้นตรวจเยี่ยมผลสำเร็จ โครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการแข่งขันอย่างยั่งยืน"

137 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ลงพื้นตรวจเยี่ยมผลสำเร็จ โครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการแข่งขันอย่างยั่งยืน"

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2566 สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ลงพื้นตรวจเยี่ยมผลสำเร็จจากการดําเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมของโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการแข่งขันอย่างยั่งยืนจังหวัดสุพรรณบุรี” มี รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งกลไกการดำเนินงานของโครงการเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและภาคจังหวัดสุพรรณบุรี ในการส่งเสริมมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย การสร้างการยอมรับและการมีส่วนร่วม ในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ซึ่งส่งผลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ และการสร้างกลไกทางการตลาดให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

          ในการนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงทิศทางและเป้าหมายการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในระดับพื้นที่และจังหวัด  พร้อมด้วย นายปริญญา เขมะชิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์จังหวัดและการสนับสนุนให้มีการนำงานวิจัยมาพัฒนาในกลไกงานด้านต่าง ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการประมง ด้านปศุสัตว์ และด้านการพาณิชย์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงอัตลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ให้มีมาตรฐาน มีความโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ด้วยวิจัยและนวัตกรรม และ ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้ชี้ให้เห็นบทบาทของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมพวงเงิน อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี พร้อมกันนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. ประกอบด้วย รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ศ.ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร ดร.มารยาท สมุทรสาคร และ ดร.สุพจน์ อาวาส  ได้ให้ข้อเสนอแนะและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้วิจัย และผู้แทนภาคจังหวัด ผู้ประกอบการ และกลุ่มวิสาหกิจในการดำเนินการโครงการ โดยผลการดำเนินงานโครงการสามารถขยายผลสู่ชุมชน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มากถึง 23 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรจากพืชเศรษฐกิจ จํานวน 5 ผลงาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเครื่องสําอางสมุนไพร จำนวน 6 ผลงาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรการประมง จำนวน 6 ผลงาน และผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรการปศุสัตว์ จำนวน 6 ผลงาน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้