ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาขอแนะนำหนังสือ แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรสำหรับเด็ก “หอมขจรฟาร์ม” by Suan Dusit ซึ่งได้จากการถอดบทเรียนที่เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศและหอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางการเกษตรโดยใช้หอมขจรฟาร์มเป็นฐานให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ โครงการละออพลัส โดยนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานมาพิจารณาทบทวนถึงผลที่ได้จากการดำเนินงาน ความสำเร็จหรือสิ่งที่ดำเนินการได้ดี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหรือต่อยอดการดำเนินการ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำเป็นรูปเล่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินโครงการในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแนะนำเอกสาร “โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นการรวบรวมการดำเนินงานในพื้นที่ของหอมขจรฟาร์ม จากจุดเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2561 จนถึงปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ตลอดจนภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานยกระดับห่วงโซ่การผลิตสินค้าทางการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำไปจนกระทั่งปลายน้ำ ทั้งนี้ “โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ” ได้กำหนดให้มีการใช้ชื่อแบรนด์ในการดำเนินงานว่า “Homkhajorn” อันมีที่มาจากชื่อของ ดอกขจร ซี่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อบ่งบอกถึงชื่อเสียงและความดีงามในด้านการทำคุณประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ขจรขจายออกไปทุกทิศทาง
สถาบันวิจัยและพัฒนาขอแนะนำหนังสือ “การถ่ายทอดองค์ความรู้บนฐานความเชี่ยวชาญจากการปฏิบัติสู่เครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะปลูกเมลอนในจังหวัดสุพรรณบุรี” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนการดำเนินงานการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเพาะปลูกเมลอนสู่เครือข่ายเกษตรกรในชุมชน ผ่านโครงการ “การพัฒนากลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวผ่านประสบการณ์การดำเนินงานพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีจุดกำเนิดจากภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ และการสั่งสมประสบการณ์ผ่านการปฏิบัติจริงไปสู่การถ่ายทอดสู่ชุมชนพื้นที่โดยใช้แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ (หอมขจรฟาร์ม) เป็นฐานการเรียนรู้ที่สามารถสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้อย่างแท้จริง เกร็ดความรู้ที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนต่อไป
เอกสารผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปี2560-2562 เป็นเอกสารที่รวบรวมผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยของทีมคณาจารย์ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย โดยแบ่งผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกเป็น 4 ด้าน ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ด้านการศึกษาปฐมวัย ด้านอาหาร ด้านการพยาบาลและสุขภาวะ และด้านอุตสาหกรรมบริการ
ประมวลผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้นี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในด้านการพัฒนาการเรียนรู้ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2560 - 2562สำหรับเผยแพร่ให้กับผู้บริหารอาจารย์และผู้สนใจทั่วไป
หนังสือ “อาหารจานเดียวยอดนิยมของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต” เล่มนี้เกิดจากผลการสำรวจของ “สวนดุสิตโพล” ต่อความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตในหัวข้อเมนูอาหารจานเดียวยอดนิยมที่จำหน่ายผ่านทางโครงการอาหารกลางวัน 1 (ครัวสวนดุสิต) ประกอบไปด้วยครัว11ครัว12ซุ้มเขียวสตรีทฟู้ด และโครงการอาหารกลางวัน 2 (โฮมเบเกอรี่)
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแนะนำหนังสือคู่มือ “เมลอนหอมขจรฟาร์ม by Suan Dusit”
ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงในการทดลองเพาะปลูกเมลอนของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยการนำเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะจาก สวทช. มาใช้ในการทดลองปลูกเมลอน 3 สายพันธุ์ จนได้ผลผลิตที่น่าพอใจ ถูกต้องตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (Good Agricultural Practice: GAP) เนื้อหาภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหาทางทฤษฎี ขั้นตอนการปฏิบัติ ต่อยอดองค์ความรู้ขยายสู่ชุมชน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจปลูกเมลอนในโรงเรือน เพื่อพัฒนาการทำเกษตรในรูปแบบใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและการผลิตผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
สถาบันวิจัยและพัฒนาขอแนะนำหนังสือ “คู่มือการปลูกและดูแลผักสลัดในโรงเรือน” ซึ่งหอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้โครงการ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยการนำเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะมาใช้ใน การเพาะปลูกผักสลัด ณ พื้นที่ หอมขจรฟาร์มเพื่อเป็นต้นแบบในการทดลองและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูก ผักสลัดในโรงเรือนอัจฉริยะ ที่สะดวกในการดูแลและสามารถควบคุม สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระบบการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลผลิตที่ปลอดภัยจาก สารเคมีตกค้าง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริโภค
สถาบันวิจัยและพัฒนาขอแนะนำหนังสือ “คู่มือการปลูกและดูแลมะเขือเทศในโรงเรือน” เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง มาสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ในโรงเรือนและการดูแลรักษา การให้สารชีวภัณฑ์ และการดูแลผลผลิต จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรและ ผู้ที่สนใจในการนำไปต่อยอดขยายผลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศชาติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการเกษตรแบบปลอดภัยอย่างยั่งยืนต่อไป
สถาบันวิจัยและพัฒนาขอแนะนำหนังสือ “คู่มือการปลูกและดูแลเมลอนในโรงเรือน” เล่มนี้เป็นความ ตั้งใจของหอมขจรฟาร์ม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในการนำเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะมาใช้ในการทดลองปลูกเมลอน 3 สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์ออเร้นจ์แมน สายพันธุ์กาเลีย 248 และสายพันธุ์ทิเบต ตามมาตรฐาน เกษตรปลอดภัย (Good Agricultural Practice: GAP) จนได้ผลผลิตที่เป็นต้นแบบของการเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตลอดจนสามารถช่วยเสริมสร้างศักยภาพ ยกระดับรายได้และ สร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกรในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
image
Lorem ipsum dolor sit amet, pri et feugiat consulatu. Eu per ceteros platonem. Ea dictas legendos ius. At adhuc solum has. Nec at harum euripidis, habeo elitr patrioque ne mel. Mei probo oportere posidonium in, has ei everti volutpat consequat.
image
Lorem ipsum dolor sit amet, pri et feugiat consulatu. Eu per ceteros platonem. Ea dictas legendos ius. At adhuc solum has. Nec at harum euripidis, habeo elitr patrioque ne mel. Mei probo oportere posidonium in, has ei everti volutpat consequat.
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้